วันพฤหัสบดีที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558
อาหาร เอกลักษณ์ ของมุสลิม ใน3จังหวัดชายแดนภาคใต้
อาหาร เอกลักษณ์ ของมุสลิม ใน3จังหวัดชายแดนภาคใต้
ไก่ฆอและ
ไก่กอและ หรือ ไก่ฆอและ เป็นอาหารมลายูปักษ์ใต้และมาเลเซีย เมนูนี้เป็นอาหารที่ชาวมุสลิมแถบชายแดนใต้ของไทยทำรับประทานกัน โดยเฉพาะที่ปัตตานีจะมีชื่อเสียงมาก บางแห่งจะทำไก่ฆอและขายคู่กับข้าวหลามด้วย ไก่กอและในภาษามลายูปาตานีจะ อ่านว่า "อาแยฆอและ" (Ayam Golek) คำว่า อาแย (Ayam) แปลว่าไก่ ฆอและ (Golek) แปลว่า กลิ้ง อาแยฆอและ จึงแปลว่า ไก่กลิ้ง ก็น่าจะหมายถึงการย่างเพราะต้องคอยพลิกกลับไปมา นอกจากจะใช้ไก่ทำแล้ว ยังสามารถใช้เนื้อสัตว์อื่น ๆ ทำได้ ถ้าใช้หอยแครงสดทำ เรียกว่า "กือเปาะห์ฆอและ" ใช้ปลาทำ เรียกว่า "อีแกฆอและ" ถ้าใช้เนื้อทำ เรียกว่า "ดาฆิงฆอและ"
แกงมัสมั่น
แกงมัสมั่น เป็นอาหารประเภทแกงที่ได้รับอิทธิพลมาจากอาหารมลายู ชาวไทยมุสลิมเรียกแกงชนิดนี้ว่า ซาละหมั่น แกงมัสมั่นแบบไทยออกรสหวานในขณะที่ตำรับดั้งเดิมของชาวมุสลิมออกรสเค็มมัน แกงมัสมั่น แบบชาวมุสลิมปักษ์ใต้ ต่างจากการปรุงแกงมัสมั่นของชาวไทยภาคกลางคือ จะไม่ทำเป็นน้ำพริกแกงมัสมั่น แต่จะผสมลูกผักชีป่น ยี่หร่าป่น พริกป่นอินเดียและพริกไทยป่นไว้เป็นผงเครื่องแกง จากนั้นจึงนำลงไปผัดกับน้ำมันที่เจียวหัวหอมแล้ว ส่วนแกงมัสมั่นแบบมลายู-ชวา จะใส่กานพลู อบเชย ลงไปผัดกับน้ำมันและหอมแดงจนหอม แล้วจึงใส่พริกป่นอินเดีย ลูกผักชีป่น ยี่หร่าป่น พริกไทยป่นลงไปผัดให้เข้ากัน นอกจากนั้นยังใส่มะพร้าวคั่ว ผงขมิ้น ดอกไม้จีนและหน่อไม้จีนด้วย
โรตีมะตะบะ
โรตีมะตะบะ เป็นอาหารขึ้นชื่อที่อยู่คู่กับชาวมุสลิม ใช้แป้งโรตีห่อไส้ไว้ภายในจะเป็นเนื้อวัว หรือเนื้อไก่ ผสมเครื่องเทศรสหอมหวานกลมกล่อม หากมองให้ดีก็จะคล้ายกับไข่ยัดไส้ เมื่อทอดเสร็จแล้วจะทานคู่กับอาจาด โรตีน้ำแกง จะเป็นแป้งโรตีธรรมดาหรือโรตีใส่ไข่ แต่ไม่ต้องใส่นมและน้ำตาล นำมาหั่นเป็นชิ้นพอดีคำรับประทานกับน้ำแกง โรตีกล้วยหอม แบบนี้หลาย ๆ คนอาจจะเคยทานกันบ้างแล้ว คือ โรตีทอด โดยมีเนื้อของกล้วยหอมฝานผสมแล้วหั่นเป็นชิ้น ๆ รสชาติจะหวานหอม แต่ไม่เลี่ยนจนเกินไป อีกแบบหนึ่งก็ คือ โรตีธรรมดาใส่ นมน้ำตาล แต่จะต่างจากที่เราทานแห่งอื่น ๆ ก็คือ โรตีส่วนใหญ่จะไม่ทอดจนกรอบ นิยมทอดแบบหนานุ่มมากกว่า
การแต่งกายของมุสลิมใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
การแต่งกายของมุสลิมใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
ในที่นี้เราจะมาพูดถึงรูปแบบการแต่งกายของผู้หญิงมุสลิมในสามจังหวัดชายแดนใต้ ผู้หญิงมุสลิมจังหวัดชายแดนภาคใต้เดี๋ยวนี้ ส่วนใหญ่จะเป็นการแต่งกายที่มีหลากหลายรูปแบบ จะมีสีสันในการแต่งกายให้ออกมาดูแล้วสวยงามและถูกต้องตามหลักอิสลาม จะใส่เสื้อรูปแบบใดก็ตามแต่ที่ผู้หญิงมุสลิมจะขาดไปไม่ได้ก็คือ การคลุมผ้าฮิญาบจะไปที่ไหนๆถ้าเห็นผู้หญิงคลุมผ้าฮิญาบ ก็จะรู้เลยว่าเป็นผู้หญิงมุสลิมเพราะเป็นสัญลักษณ์ของผู้หญิงมุสลิม
เมื่อก่อนผู้หญิงมุสลิมจะใส่ชุดอะไรก็แล้วแต่ส่วนใหญ่จะเน้นสีดำหรือสีพื้นสีจะไม่ฉูดฉาดแต่สมัยนี้เมื่อมีการพัฒนาเกิดขึ้นอะไรๆก็ย่อมมีการเปลี่ยนแปลงไปตามๆ กัน เวลาจะไปไหนมาไหนก็จะแต่งตัวกันหลากหลาย จะเลือกซื้อเสื้อผ้าที่มีสีฉูดฉาด แต่งตัวกันตามกระแสนิยมเช่นจะไปซื้อของ เดินช็อปฯ หรือไปไหนก็แล้วแต่ ที่ไกลจากบ้านก็จะสวมใส่เสื้อผ้าที่มีความโดดเด่นอย่างเห็นได้ชัด เช่นเสื้อแฟชั่นต่างๆ และกางเกงหรือบางคนก็จะใส่กระโปรง ใส่ชุดกุรง/มินิสกุรงหรือใส่ชุดอะบายะแล้วแต่สไตล์แต่ที่ขาดไม่ได้คือผ้าคลุมฮิญาบที่มีสีเดียวกับเสื้อเพราะใส่แล้วจะได้ดูเข้ากัน แต่บางกลุ่มคนที่มีความเคร่งครัดก็จะใช้ผ้าปิดหน้าด้วย และถ้าวันสำคัญๆของชาวมุสลิมเช่นวันรายอ วันงานมงคลสมรส ฯลฯ ผู้หญิงมุสลิมก็จะสวมใส่ชุดที่มีความโดดเด่นหน่อยซึ่งมีความอลังการ ส่วนวันธรรมดาอยู่บ้านก็จะใส่เสื้อปกติเช่นเสื้อยืด ผ้าโสร่ง และผ้าคลุมผมผืนยาวๆ เป็นผืนสี่เหลี่ยมผืนผ้า ไม่ต้องใช้เข็มมากลัดอะไรมากนัก ผ้าคลุมฮิญาบของผู้หญิงมุสลิมก็จะมีลักษณะที่แตกต่างกันไป อยู่ที่คนจะซื้อ ราคาของผ้าคลุมถ้าปักกับจักรต่างๆ ก็จะอยู่ที่ราคาประมาณ 200 บาทขึ้นไปแต่ถ้ามีการใส่เพชรและปักดอกหลายๆสีหรือแบบอลังการก็จะอยู่ที่ราคาหลักพัน
สถานที่ท่องเที่ยวใน3จังหวัดชายแดนภาคใต้
หาดตะโละกาโปร์
หาดตะโละกาโปร์ ตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองปัตตานีตามทางหลวงหมายเลข 42 (ปัตตานี-นราธิวาส) เลี้ยวซ้ายเข้าอำเภอยะหริ่ง ข้ามคลองยามูตามสะพานคอนกรีตขนาดใหญ่ ผ่านพื้นที่สวนป่าชายเลนและหมู่บ้านไปจนถึงทางแยกเข้าสู่หาด รวมระยะทางประมาณ 18 กิโลเมตร หาดตะโละกาโปร์เป็นหาดที่มีชื่อเสียงของจังหวัดปัตตานี เคยประกวดแหล่งท่องเที่ยว 5 จังหวัด ชายแดนภาคใต้ ได้ที่ 2 ประเภทแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ ประจำปี 2529 หาดตะโละกาโปร์เป็นหาดทรายขาวสะอาดขนานกับชายฝั่งทะเล มีเรือกอและของชาวประมงจอดอยู่เป็นจำนวนมาก หาดทรายแห่งนี้งอกยาวออกไปเรื่อยๆ เพราะเกิดจากกระแสน้ำพัดเอาตะกอนทรายมาทับถมพอกพูน เหมาะแก่การไปนั่งพักผ่อนชมความสวยงาม มีทิวสนและต้นมะพร้าวให้ความร่มรื่นสวยงาม
บ่อน้ำร้อนเบตง |
บ่อน้ำร้อนเบตง ได้ เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติอย่างหนึ่งของเบตงที่มีน้ำพุเดือดขึ้นมาจากพื้นดินในหมู่บ้านจะเราะปะไร ตำบลตาเนาะแมเราะ ก่อนถึงอำเภอเบตง 5 กิโลเมตร บนทางหลวงหมายเลข 410 มีทางแยกขวาไปอีก 8 กิโลเมตร ตรงจุดบริเวณที่น้ำเดือดสามารถต้มไข่สุกภายใน 7 นาที มีบริการห้องอาบน้ำแร่ ซึ่งเชื่อกันว่าน้ำแร่จากบ่อน้ำร้อนสามารถบรรเทาอาการปวดเมื่อยและรักษาโรคผิวหนัง
มัสยิด 300 ปี ตะโละมาเนาะ
ตั้งอยู่ห่างจากอำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส เพียง 4 กิโลเมตร ทางเข้ามัสยิดแยกจากเส้นทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 42 (สายเอเชีย 18) เส้นทางนราธิวาส-ปัตตานี ตรงทางแยกบ้านบือราแง ตั้งอยู่ที่บ้านตะโละมาเนาะ หมู่ที่ 1 ตำบลลุโบะสาวอ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส มัสยิดวาดิลฮูเซ็น เป็นมัสยิดเก่าแก่และมีประวัติอันยาวนาน ชาวบ้านทั่วไปเรียกว่ามัสยิด 200 ปีบ้าง มัสยิด 300 ปีบ้างมัสยิดวาดิลฮูเซ็น (มัสยิดตะโละมาเนาะ : 200 ปี) ตั้งอยู่ห่างจากอำเภอบาเจาะจังหวัดนราธิวาสเพียง 4 กิโลเมตร ทางเข้ามัสยิดแยกจากเส้นทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 42 (สายเอเชีย 18) เส้นทางนราธิวาส-ปัตตานี ตรงทางแยกบ้านบือราแง ตั้งอยู่ที่บ้านตะโละมาเนาะ หมู่ที่ 1 ตำบลลุโบะสาวอ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส
มัสยิดวาดิลฮูเซ็น เป็นมัสยิดเก่าแก่และมีประวัติอันยาวนาน ชาวบ้านทั่วไปเรียกว่ามัสยิด 200 ปีบ้าง มัสยิด 300 ปีบ้าง ตามประวัติโดยหะยีอับดุลฮามิ อูเซ็น อายุ 89 ปี ชาวบ้านเรียกว่าปะดอดูกู ได้เล่าให้ฟังว่ามัสยิดแห่งนี้ได้สร้างมาแล้ว 3 ชั่วอายุคน โดยท่านหะยีซายฮูซึ่งเป็นครูสอนศาสนาเป็นผู้ก่อสร้าง มีนายแซมะเป็นนายช่าง สันนิษฐาน ว่าสร้างเมื่อปี พ.ศ.231 ลักษณะการก่อสร้าง ก่อสร้างจากไม้ตะเคียนทั้งหลัง ใช้สลักไม้แทนตะปูหรือสกรู การก่อสร้างในสมัยนั้นไม่มีเลื่อย ขวาน สิ่วแต่จะใช้บือจือตา(รูปร่างคล้ายขวาน) ตัดไม้ ใช้บันลีโยง(ลิ่ม) ผ่าไม้ ใช้บายิ (รูปร่างคล้ายจอบ) ถากไม้ให้เรียบ เสาไม้มีจำนวน 26 ต้นสี่เหลี่ยมขนาด 10X10 นิ้ว พื้นหนา 2 นิ้ว ฝาประกบหน้าต่างทำด้วยไม้ทั้งแผง แกะสลัก เป็นลวดลายต่าง ๆ ตัวมัสยิดสร้างเป็นอาคาร 2 หลังติดกันมีขนาด14.20X6.30 เมตร เฉพาะหลังที่เป็นมิหรอบ (บริเวณที่อิหม่ามนั่งละหมาด) มีขนาด4.60X5.60 เมตร
มัสยิดแห่งนี้สร้าง แบบศิลปไทยพื้นเมืองประยุกต์กับศิลปแบบจีนและศิลปแบบมลายู ส่วนที่เด่นที่สุดของมัสยิดนี้จะอยู่ที่หลังคาอาคารหลังแรกส่วนที่เป็นมิหรอบ หลังคามี 3 ชั้น มุงด้วยกระเบี้องดินเผา หลังคาชั้นที่ 3 มีโดมเป็นเก๋งจีนอยู่บนหลังคา เป็นศิลปแบบจีนแท้ เสาจะแกะสลักเป็นรูปดอกพิกุล ในสมัยนั้นเก๋งจีนจะใช้เป็นหออะซาน(สำหรับตะโกนเรียกคนมาละหมาด) ส่วนหลังที่ 2 จะมีหลังคา 2 ชั้นมุงด้วยกระเบื้องดินเผา หลังคาชั้นที่ 2 จะมีจั่วอยู่บนหลังคาชั้นแรกมีฐานดอกพิกุลหงายรองรับจั่วหลังคาอีกชั้นหนึ่ง มีรูปแบบทรงไทย แบบหลังคา โบสถ์วัดทั่ว ๆ ไปรอบ ๆฐานดอกพิกุลหงายจะแกะสลักเป็นลายเถาว์ก้านมุมหลังคาด้านบนของอาคารทั้ง 2 หลัง ใช้ปูนปั้นเป็นลายกนก ลายเถาว์ก้าน มัสยิดแห่งนี้เป็นสถานที่ ประกอบศาสนกิจของชาวไทยที่นับถือศาสนาอิสลามมาหลายชั่วอายุคนซึ่งนับว่ามีความสำคัญต่อชุมชนมาก
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)