วันพฤหัสบดีที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

วัฒนธรรมในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส)

วัฒนธรรมในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส)


  



     วัฒนธรรมในแต่ละท้องถิ่นอาจจะมีความแตกต่างกัน หรือในบางท้องถิ่นอาจจะคล้ายคลึงกัน มีการผสมผสานกัน เพราะโดยธรรมชาติแล้วมนุษย์มีการติดต่อกับโลกภายนอก  ต่างกลุ่ม ต่างชาติพันธุ์  ต่างศาสนา  วัฒนธรรมย่อมมีการรับและการถ่ายทอดซึ่งกันและกัน จึงก่อให้เกิดความหลากหลายทางวัฒนธรรม  ดังที่ ประทุม ชุ่มเพ็งพันธุ์ (2523 :4-9) ได้กล่าวถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรมของดินแดนภาคใต้สรุปได้ว่า ดินแดนภาคใต้เดิมเป็นที่ตั้งของชนพื้นเมืองพวกนิกริโต เนื่องจากภาคใต้มีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ ต่อมาจึงมีผู้อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ปะปนกับชน  กลุ่มเดิมได้แก่ พวกมลายู เขมร มอญ ไทย และจีน เป็นต้น เมื่อมีการติดต่อกับโลกภายนอกมากขึ้นคนเชื้อสายอื่นๆ ก็เข้ามาตั้งถิ่นฐานมากขึ้นจนกลายเป็นชุมชนใหญ่ จึงก่อให้เกิดการสั่งสมวัฒนธรรมต่าง ๆ อย่างหลากหลาย ประมาณพุทธศตวรรษที่ 6-7 ชาวอินเดียได้เดินทางมาติดต่อค้าขายและได้นำเอาศาสนาพุทธและศาสนาพราหมณ์ตลอดจนศิลปวัฒนธรรมต่างๆ เข้ามาเผยแพร่ด้วย ดินแดนภาคใต้จึงได้รับเอาวัฒนธรรมตามแบบอย่างอินเดียหลายอย่าง และในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน จีน อาหรับ ชวา ก็ได้เดินทางมาค้าขายกับดินแดนทางภาคใต้ จึงทำให้วัฒนธรรมของพวกอาหรับและจีนมีอิทธิพลต่อชนชาวภาคใต้  ดังนั้นวัฒนธรรมภาคใต้จึงมีทั้งแบบดั้งเดิมของชาวพื้นเมือง คือการนับถือผีสางนางไม้ การนับถือผีบรรพบุรุษ และวัฒนธรรมใหม่ที่รับเข้ามา คือการนับถือศาสนาพุทธ ศาสนาพราหมณ์ ตามแบบอย่างของอินเดีย และนับถือศาสนาอิสลามตามแบบอย่างชาวอาหรับ จึงกล่าวได้ว่าภาคใต้เป็นแหล่งที่มีรากเหง้าของวัฒนธรรมมาจากอดีตอันยาวนาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น